Wednesday, October 04, 2006

 

ชื่อเรียกแบบใหม่

งานแนะแนวและสวัสดิการการศึกษา
ฝ่ายพัฒนาการศึกษา
ตามระเบียบ การบริหาร สอศ. 2549

Thursday, August 24, 2006

 

สารพัดทุนการศึกษา

28-29 สิงหาคม 2549 เซ็นสัญญาเงินกู้ค่าครองชีพ

กองทุนให้เปล่า มาอีกแล้ว เกรดเฉลี่ย 1.5 ขึ้นไป ยื่นขอทุนได้ที่ห้องแนะแนวฯ
ทุนรายได้น้อย ใกล้จะคลอดแล้ว คงจะมีซ้ำกันบ้างแหละ มั่วเหลือเกิน
ทุนภาวะวิกฤติ บอกว่าให้ 348 ทุน ๆละ 8,000 บาท หมดเขต สิ้นเดือน กันยายน 2549

25 สิงหาคม 2549 มอบทุนศึกษากิจ มูลนิธิชาวชัยนาท นักศึกษา 102 คน ครู-อาจารย์ 30 คน

Saturday, August 19, 2006

 

รายละเอียดการขอทุน

http://www.rakdek.com/project/?project=00000036

อ่านรายละเอียดแล้ว ขอรับใบสมัครที่งานแนะแนวฯ ด่วน

 

ทุนการศึกษาของคณะกรรมการพัฒนายุทธศาสตร์

สถานศึกษาจะเริ่มดำเนินงานรับสมัครและคัดเลือกผู้รับทุนระหว่าง 1 กันยายน - ตุลาคม 2549 ยื่นใบสมัครที่สถาบันการศึกษาที่ศึกษาอยู่ ซึ่งสนับสนุนทุนเพียง1 ปี เฉพาะ ปีพ.ศ. 2549 จำนวนเงินที่สนับสนุน - ระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ทุนละ 5,000 บาท - ระดับปวช. และ ปวส. ทุนละ 8,000 บาท - ระดับปริญญาตรี ทุนละ 10,000 บาท - มอบเงินโดยสถาบันการศึกษางวดเดียวไปจัดสรรทุนให้กับนักเรียน นักศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2549

Tuesday, June 13, 2006

 

วอนนศ.ไม่ขาดแคลนจริงอย่ากู้กรอ.

วอนนศ.ไม่ขาดแคลนจริงอย่ากู้กรอ.

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปการเงินเพื่อการอุดมศึกษา เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า หลังจากที่ประชุม ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง เสนอให้โอนเงินงบประมาณรายจ่ายกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จำนวน 4,600 ล้านบาท มาใช้ในกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) นั้น ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ประสานไปยังกระทรวงการคลัง และ กยศ.ให้จัดส่งงบสำรองจ่ายร้อยละ 50 ของงบประมาณทั้งหมด ที่คาดว่ามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะให้นักศึกษากู้ยืมจากกองทุน กรอ.เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่อง ที่มหาวิทยาลัยประสบอยู่โดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ยังได้หารือถึงการเตรียมความพร้อมในส่วนของกรมสรรพากร ที่จะเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องการตามเก็บหนี้กองทุน กรอ.ที่จะต้อง เตรียมระบบ เนื่องจากหลังเปิดภาคเรียนอาจจะมีนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่เปลี่ยนใจไม่กู้เงิน กรอ. “จากการติดตามข้อมูลเบื้องต้นพบว่า มหาวิทยาลัยของรัฐมีนักศึกษาแสดงความจำนงต้องการกู้เงิน กรอ.ประมาณร้อยละ 60-80 ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนร้อยละ 60-90 คิดเป็นสัดส่วนที่มากพอสมควร แสดงให้เห็นว่านโยบายของรัฐบาลได้รับความสนใจและจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลว่ามีนักศึกษาที่อยู่ในฐานะที่สามารถจ่ายเงินค่าเล่าเรียนได้แต่เปลี่ยนพฤติกรรมมากู้เงิน กรอ.มากขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อการดูแลนักศึกษาให้ได้ทั่วถึง ดังนั้นอาจจะต้องมาพิจารณากำหนดนโยบายให้ชัดเจนขึ้น และสร้างความเข้าใจว่านักศึกษาควรตัดสินใจกู้เงิน กรอ.ตามความจำเป็น ฐานะเศรษฐกิจของครอบครัว เพราะไม่ใช่เงินได้เปล่าแต่ต้องใช้คืนเมื่อมีรายได้” รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ กล่าว

Friday, June 09, 2006

 

ครม.ไฟเขียวใช้เงิน"กยศ."สมทบ"กรอ."


-เตรียมให้นศ.รุ่นแรกกู้กว่า 9 พันล.-พร้อมรณรงค์เด็กมีฐานะจ่ายสด เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุม ครม.มีมติให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้โอนย้ายงบประมาณราบจ่ายกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) บางส่วนไปใช้ในกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) เนื่องจากงบประมาณที่ได้ตั้งไว้ให้กองทุน กรอ. แล้วประมาณ 4,800 ล้านบาท คาดว่าจะไม่เพียงพอที่จะให้นักศึกษาระดับ ปวสง,อนุปริญญา,และปริญญาตรีชั้นปีที่1 ได้กู้ยืมเรียนในปีการศึกษา 2549 นี้ แต่ยังไม่ทราบว่าจะต้องใช้จำนวนเท่าไร เพราะยังต้องรอข้อมูลการกู้ยืมของนักศึกษาว่าจะมีจำนวนเท่าใด อย่างไรก็ตามเบื้องต้นนี้ได้เตรียมเงินจากกองทุน กยศ. มาสมทบให้อีกประมาณ 4,600 ล้านบาท "ในการโอนงบประมาณดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยอาศัยอำนาจของสำนักงบประมาณ ตาม พรบ. งบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2549 มาตรา 28 ทั้งนี้ ทางกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำให้ ศธ. ต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับนักศึกษาถึงผลแตกต่างและข้อดีข้อเสียระหว่างการกู้ยืมเงินกองทุน กรอ. กับการชำระค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง และต้องกำหนดกรอบการขอกู้ยืมให้มีความเหมาะสม และอยู่ในวงเงินที่กองทุน กรอ. ได้รับโอนมาเพิ่มเติมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อกองทุน กยศ.ภายหลัง" นายจาตุรนต์กล่าว ผู้สื่อข่าวรรายงานว่า นพ.ธาดา มาร์ติน รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานบริหารโครงการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษา ได้ทำหนังสือถึงนายจาตุรนต์ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา มีใความระบุว่า เห็นด้วยกับแนวทางการโอนงบประมาณจากกองทุน กยศ. มาใช้ในกองทุน กรอ. แต่ในระยะยาวควรจะต้องมีการระดมทุนเพื่อสนับสนุนกองทุน กรอ. ซึ่งจะต้องกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม ส่วนเรื่องการชี้แจงทำความเข้าใจกับนักศึกษาถึงความแตกต่างและผลดีผลเสียในการชำระเงินค่าเล่าเรียนเองกับการกู้ยืมเงินกองทุน กรอ. รวมทั้งการกำหนดกรอบการขอกู้ยืมให้เหมาะสมและอยู่ในวงเงินที่กองทุน กรอ. รองรับได้ใน้น จะมีการประสานกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และกองทุนกรอ. ในการจัดสรรวงเงินให้กู้ยืมให้อยู่ในกรอบ นอกจากนี้ จะมีการจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจกับสถาบันการศึกษาและนักศึกษาเกี่ยวกับการชำระคืนเงินกู้ การปรับมูลค่าหนี้ของยอดเงินกู้ตามอัตราเงินเฟ้อ วิธีการคำนวณหนี้เงินกู้ ภาระการชำระเงินคืน และระยะเวลาชำระคืน ซึ่งจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาที่ครอบครัวมีฐานะทางการเงินได้ชำระค่าเล่าเรียนเอง โดยไม่ต้องมากู้เงินกองทุน กรอ. ทุกคนที่มา: นสพ.มติชนรายวัน วันพุธที่ 7 มิถุนายน 2549

Friday, May 26, 2006

 

ตัวอย่างการชำระคืนเงินกองทุน กรอ.

http://www.icl.or.th/repayment.html

 

เหลียวหลัง กยศ. แลหน้า กรอ. อนาคตเพื่อการศึกษาไทย


จากการเสวนา “เหลียวหลัง กยศ. แลหน้า กรอ. อนาคตเพื่อการศึกษาไทย” จัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นักวิจัยจากทีดีอาร์ไอ เผยถึงการประเมินนโยบายกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ว่า จากการศึกษาสรุปได้ว่า กยศ.มีส่วนช่วยให้ค่าใช้จ่ายการศึกษาของรัฐกระจายไปยังครัวเรือนรายได้ต่ำได้ดีพอสมควร และไม่พบว่าช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษา เนื่องจากมีความเสี่ยงของการได้รับเงินกู้ ส่วนเพดานเงินกู้ก็ต่ำเกินไป ไม่จูงใจให้นักเรียนจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำตัดสินใจเรียนต่อมหาวิทยาลัย ทั้งสัดส่วนผู้มาชำระหนี้ กยศ.ไม่ตรงตามเวลาค่อนข้างสูง สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพการติดตามทวงหนี้ในระดับต่ำ และยังพบว่าระบบการดำเนินการของ กยศ.เปิดช่องทางให้สถานศึกษาบางแห่งนำเงินกู้ไปแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ สำหรับบทเรียนจาก กยศ.สู่ กรอ.เชิงนโยบายนั้น รัฐควรเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของประชาชน โดยใช้ ต้นทุนทางการเงินต่ำ กรอ.ควรวางกลไกตรวจสอบการจัดสรรเงินกู้ยืมอย่างรัดกุม ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกติดตามการชำระหนี้คืน และควรวางกลไกติดตามและประเมินผลโครงการล่วงหน้า ด้าน ดร.เปรมประชา ศุภสมุทร ผู้จัดการ กยศ. กล่าวว่า การกู้ กรอ.ในปีนี้ ตนพยายามชี้แจงให้นักเรียนและผู้ปกครองเข้าใจว่า หากผู้ปกครองที่มีฐานะทางการเงินดี ไม่อยากให้มากู้ กรอ. เพราะจะเป็นภาระให้ลูกหลานในอนาคต แม้ว่า กรอ.จะเปิดกว้างให้ทุกคนกู้ก็ตาม สำหรับเงินที่ใช้ใน กรอ.ปีนี้ ที่ได้รับงบฯจำนวน 4,800 ล้านบาท แต่ยังต้องการเพิ่มอีก 4,300 ล้านบาทนั้น ข้อสรุปสุดท้ายคือ กยศ.จะโอนเงินให้ กรอ.ยืมใช้ก่อน 4,300 ล้านบาท โดยในปีนี้ กยศ.มีเงินจากงบประมาณแผ่นดิน 25,000 ล้านบาท และเงินที่ได้รับคืนจากผู้กู้ที่ครบกำหนดชำระคืนอีก 2,000 ล้านบาท จึงคิดว่ามีเงินให้ กรอ.นำ ไปใช้ก่อนได้ จนกว่า กรอ.จะมี พ.ร.บ.ของตนเอง ซึ่งจะทำให้ กรอ.สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างๆได้ รวมทั้งออกพันธบัตรหาเงินมาใช้ได้ น.พ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ กล่าวว่า กรอ.มีส่วนที่คล้ายคลึงกับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค คือ รัฐต้องทุ่มเงินให้จำนวนมาก ซึ่งทุ่มเท่าไรก็หมด แต่ กรอ.ยังได้เงินหมุนเวียนคืน อีกทั้งไม่สามารถเลิกโครงการได้ หากบริหารจัดการไม่ดีหรือรัฐไม่มีเงินสนับสนุนพอ จะทำให้กลายเป็นต้นไม้ตายซาก ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์ ส่วนรัฐบาลก็ละลายเงินในแม่น้ำโดยเปล่าประโยชน์.

 

ขอความร่วมมืออาจารย์ที่ปรึกษา

ขอความร่วมมือหัวหน้าแผนกแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษารวบรวมเงินค่าคู่มือจากนักศึกษาที่ยังไม่ได้ชำระเงิน ส่งที่งานแนะแนวฯ ภายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 ด้วย ขอบคุณค่ะ

This page is powered by Blogger. Isn't yours?